อาสาพาไปหลงในงาน Digital SME Conference Thailand 2022
ถ้าพูดถึงงานประชุมด้าน Digital ที่ใหญ่ที่สุดในไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา คงปฎิเสธไม่ได้เลยครับ ว่างาน “Digital SME Conference Thailand 2022” คือหนึ่งในนั้น
ก่อนอื่นจะต้องขอแนะนำกันก่อนสักเล็กน้อย สำหรับใครที่ยังไม่เคยรู้จักงานนี้
Digital SME Conference Thailand คืองานประชุมทางด้าน Digital ที่จัดขึ้นเป็นประจำในทุกๆปี โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการไทย Transform ตัวเองเข้าสู่การเป็น Digital
งานปีนี้ได้ถูกจัดขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ภายใต้คอนเซปต์ Scale, Strong, Survive (เติบโต | แข็งแกร่ง | อยู่รอด) ที่จะมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา รวมถึงนักธุรกิจระดับประเทศ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จตัวจริง มาร่วมวิเคราะห์เจาะลึก แบ่งปันความรู้ แชร์ประสบการณ์เพื่อการทรานสฟอร์มธุรกิจตลอดทั้งวัน เต็มอิ่มไปกับข้อมูลสำคัญๆ และเทรนด์ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะ Data&MarTech, Business, Marketing , Social Commerce และอื่น ๆ อีกมากมาย ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ 9:00–19:00 น.
สำหรับครั้งนี้ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมฟัง Speaker 2 ท่าน ที่มาพูดในหัวข้อ “ กับดักของการทรานส์ฟอร์มธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องรู้ (The traps of digital transformation) ” โดยได้รับเกียรติจากคุณโทมัส, CEO Smart ID Group และคุณปิ๊ก, Business Model Designer ที่ได้มาแบ่งปันความรู้ แชร์ประสบการณ์ในครั้งนี้
เริ่มต้นคุณปิ๊กได้ชวนคุยว่า อะไรคือหัวในสำคัญของการ Transformation ?
หลายท่านอาจคิดว่าการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ(การปรับเปลี่ยนองค์กร) เป็นเรื่องของการทํา hardware และ software เป็นหลัก แต่ลึกๆแล้วหัวใจของ การทรานส์ฟอร์มที่เรามักละเลยอยู่บ่อยครั้งคือ mindware
คน เป็นหัวใจหลักที่ช่วยผลักดันให้ software & hardware ทํางานให้เกิดผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ถัดมาคุณโทมัสก็ได้เล่าถึงแนวคิดการทําความเข้าใจในการทรานส์ฟอร์ม เพื่อไม่ให้เราก้าวพลาดในยุคของการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1. ทรานส์ฟอร์ม hardware, software ต้องอย่าลืม mindware ให้ความสําคัญเรื่องคน ถ้าคนที่ทําไม่เข้าใจในสิ่งที่ต้องทํา hardware และ software จะไม่เกิดประโยชน์จากงบประมาณที่ลงทุนไป
2. ต้นทางของการทรานส์ฟอร์ม ไม่ได้เริ่มจากการปรับระบบ แต่เริ่มที่ผู้นําไปที่คนในทีม แล้วจึงไปที่ระบบ ความพร้อมของคน mindware ต้องการกําลังใจจากผู้นํา ก่อนจะสั่งงานต้องรู้จักคนในทีมก่อนว่าเป็นคนประเภทไหน และรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเราเอง ก่อนสั่งงาน
3. การทรานส์ฟอร์มไม่ใช่การลงทุนทําเหตุการณ์ใหญ่ๆครั้งเดียวแล้วสําเร็จ แต่เป็นการทําเล็กๆน้อยๆ ต่อเนื่องไปทุกวัน เปรียบเหมือนการซื้อใจคู่ชีวิตที่ต้องทําให้กระบวนการระหว่างทางเกิดการเชื่อใจ ที่จะไปต่อกับคุณ การทําความเข้าใจทีมและทําให้ทีมเข้าใจจึงเป็นสิ่งสําคัญ
4. การทรานส์ฟอร์มเปรียบเสมือนการวิ่งแข่งมาราธอน เป็นเกมยาวไม่ใช่เกมสั้นและไม่มีจุดสิ้นสุด ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการตลอดเวลา ให้คนเข้าใจมี mindset แล้วมองเห็นภาพเดียวกันที่ว่า การปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องปกติ
ต่อมาคุณปิ๊กได้แชร์ถึงกับดักและวิธีรับมือที่หลายคนกำลังประสบเจอในการทำ transformation ซึ่งเรียกว่า “ 5 Myths of transformations : กับดักของการเปลี่ยนแปลงองค์กรและวิธีรับมือ ”
- Myth 1: ให้คนอื่นเริ่มไปก่อน เรารอให้พร้อมแล้วค่อยเริ่ม
วิธีรับมือ: เริ่มเท่าที่เริ่มได้เพราะค่าเสียโอกาสมีค่ามหาศาลเกินกว่าจะรอได้ - Myth 2: เปลี่ยนพร้อมกันทีเดียว ทํางานรอบเดียวไม่เสียเวลา
วิธีรับมือ: เปลี่ยนส่วนงานที่จําเป็นก่อน เพื่อให้ได้โฟกัสและสร้าง momentum ของความสําเร็จ เป็นการสร้าง small win (ถ้าเริ่มพร้อมกันหมดจะไม่ได้โฟกัสกับงาน และกระทบทุกภาคส่วน) - Myth 3: คิดว่ามีระบบแล้ว ทุกอย่างจะจบ
วิธีรับมือ: การทรานส์ฟอร์มเริ่มต้นที่คน ทั้งวิธีคิดและวิสัยทัศน์ - Myth 4: ลดต้นทุนเข้าไว้เดี๋ยวกําไรก็มาเอง
วิธีรับมือ: ลดแค่พอดีอย่าลดจนถึงขั้นกระทบความพึงพอใจของลูกค้า กรณีที่ไม่
อยากลดต้นทุนจากการลดค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน สิ่งที่ต้องทําคือเพิ่มรายได้ให้บริษัท ซึ่งจําเป็นต้องอธิบายให้คนในองค์กรเข้าใจถึงการโยกย้ายแผนกงานที่อาจเกิดขึ้น - Myth 5: ขยายจาก offline เป็น online เรียบร้อย ปังแน่นอน!
วิธีรับมือ: ขยายช่องทางแล้ว ต้องขายให้เป็นด้วย หัวใจคือต้องใช้ข้อมูลในการทํา
การตลาดออนไลน์ให้เป็น
สุดท้ายหากเราต้องการวัดผลการทรานส์ฟอร์ม แนะนําใช้การวัดผลแบบ OKR (Objective and Key Results) แทนการใช้KPI (Key Performance Indicator) จะมีความเหมาะสมกว่า เนื่องจากเป็นการทําเพื่อให้เกิดผลในระยะยาว
อย่ากลัวการทรานส์ฟอร์ม จงกลัวที่ตัวเราเองไม่ทรานส์ฟอร์ม
เพราะคู่แข่งไม่เคยอนุญาตให้เราอยู่เฉย
ถ้าเราอยู่เฉยแปลว่าเรายอมรับสภาพ
และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่ผมอยากนำมาแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกคน สุดท้ายหวังว่าบทความจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับผู้อ่านทุกคนที่หลงแวะเวียนเข้ามาอ่านถึงตรงนี้
สำหรับครั้งหน้าจะเป็นบทความเรื่องอะไร อย่าลืมติดตาม แล้วพบกันใหม่ครับ /่\