Credit Risk ระเบิดเวลาที่รอปะทุ
Credit Risk หรือความเสี่ยงด้านสินเชื่อ คือระเบิดเวลาที่รอปะทุ จากการปรับโครงสร้างหนี้ ที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ
แม้เราจะควบคุมสถานการณ์ CoVID-19 ในประเทศได้ดี
แต่เราเองก็กำลังเผชิญกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมา
ส่วนหนึ่งเพราะเราเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด ค้าขายทั่วโลก พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก แล้วเราจะพบว่าเกือบทุกอุตสาหกรรม ล้วนได้รับผลกระทบจาก CoVID-19 เช่น ท่องเที่ยว, การบริโภค, บันเทิง, กีฬา, อสังหาริมทรัพย์ และยานยนต์
[[ ผลกระทบที่น่าจับตามองที่สุด คือ หนี้เสีย ]]
แนวทางแก้ปัญหาของแบงก์ชาติ และสภาวิชาชีพบัญชีในช่วงที่ผ่านมา จึงได้เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ เข้ามายื่นขอปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยการชะลอเวลาการผ่อนชำระเป็น 3–6 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน-ตุลาคม
ตามเงื่อนไขแต่ละธนาคาร เช่น
- หยุดผ่อนต้น แต่ผ่อนดอกเบี้ยอย่างเดียว
- หยุดผ่อนทั้งต้นและดอก แต่จะเรียกเก็บภายหลัง
- ขยายเวลาผ่อนการชำระในสัญญาออกไป
.
ทั้งหมดนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นการขยายเวลาเลื่อน “Credit Risk”
ออกไป ทำให้ภาพรวมเวลานี้ยังไม่เกิดหนี้เสียขึ้นมากในระบบ
================
ข้อมูลสถิติการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ณ วันที่ 29/06/2563 พบว่า
1) จำนวนคนที่มาขอปรับโครงสร้างหนี้ 15,113,510 ราย
2) มูลหนี้ที่ขอปรับโครงสร้างหนี้ 6.68 ล้านล้านบาท (1 ใน 3 ของหนี้รวมทั้งระบบของไทย)
================
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือ
- ธนาคารยังไม่ต้องตั้งสำรองมาก แต่รายได้จากดอกเบี้ยจะลดลงมาก
เพราะ Cash Flow ที่จะเข้ามาจากการชำระหนี้หายไป
- ธุรกิจและคนในแต่ละอุตสาหกรรม จะมีเวลาตั้งหลัก 3–6 เดือน จากการชำระหนี้ลดลง
ทั้งหมดจึงเกิดเป็นคำถามกลับมาที่เราว่า
จากนี้ไป “เศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ? ”
- ถ้าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับความช่วยเหลือจะมีคนกลับมาจ่ายหนี้สักกี่คน ?
- ถ้าลูกหนี้จำนวนมากไม่สามารถกลับมาจ่ายหนี้ได้จะเกิดอะไรขึ้น ?
- ถ้ามีการผิดนัดชำระหนี้ หลักทรัพย์ค้ำประกันต่างๆ เข่นบ้าน รถ ทรัพย์สินอื่นๆ อาจจะต้องถูกฟ้องล้มละลาย ถูกยึด มันก็อาจจะเริ่มก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ต่อไปเรื่อยๆ
สิ่งที่น่าเฝ้าระวังต่อจากนี้ คือ …
จำนวนของคนและมูลหนี้ที่มาปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงภาพรวมของธุรกิจและคนในแต่ละอุตสาหกรรม ยังตั้งหลักไม่ทัน หรือรายได้ยังไม่กลับมา 100% เหมือนปกติ มันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ?
========================================
ส่วนตัวเชื่อว่าการเลื่อนเวลา Credit Risk รวมถึงการเสนอสินเชื่อ Soft Loan นั้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะปัญหาที่แท้จริง คือ
[ [ [ “คนขาดรายได้ ไม่ได้ขาดการเข้าถึงสินเชื่อ” ] ] ]
.
ตราบใดที่รายได้ไม่กลับมาปกติ ไปเพิ่มหนี้และขยายเวลาออกไป สุดท้ายก็อาจจะไม่ช่วยอะไร แต่กลับจะเกิดหนี้เสียในระบบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธนาคารที่ตั้งต้องสำรองจำนวนมาก เรียกได้ว่าเจ็บและจุกกันไปถ้วนหน้า ต่างจากอดีตที่เราจะทยอยตั้งสำรองตามกลไกที่เกิดขึ้นของวัฎจักรเศรษฐกิจ
สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
ก็ไม่ต่างอะไรจากระเบิดที่มันรอเวลาปะทุขึ้น
ที่เราต้องจับตามองกันต่อไป…