ออมหุ้นด้วย DCA | ทางเลือกการลงทุนที่เหมาะกับมือใหม่และมนุษย์เงินเดือน

Pakpoom Poom
1 min readDec 26, 2019

--

ก่อนอื่นเรามาความรู้จักกับเจ้าตัว DCA กันก่อนดีกว่า ว่ามันคืออะไร

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

DCA (Dollar-Cost Averaging) เป็นรูปแบบการออมหุ้น ที่เน้นกลยุทธ์การลงทุนแบบ “ถัวเฉลี่ยต้นทุน” ด้วยการทยอยลงทุนหุ้น ในจำนวนเงินที่เท่าๆ กันอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว โดยกำหนด จำนวนเงินที่ต้องการลงทุน เลือกหุ้นที่ใช่ และช่วงเวลาลงทุนในแต่ละเดือน

ทำไมต้องออมหุ้น ?

เพราะลงทุนระยะยาวในหุ้น จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าสินทรัพย์กลุ่มอื่นๆ (พิจารณาจากผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี พ.ศ.2551–2560 ของกลุ่มหุ้นไทยสูงสุดอยู่ที่ 11.61% รองลงมากลุ่มพันธบัตรรัฐบาล 5.15%, กลุ่มทองคำ 4.50% และกลุ่มเงินฝากประจำ1ปี 1.73% ตามลำดับ)

หุ้นแบบไหน เหมาะกับ DCA ?

  • กิจการต้องไม่ล้ม เมื่อเจอวิกฤติเศรษฐกิจ
  • มีการเติบโตของรายได้และกำไร
  • มีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น
  • มีสินค้าและบริการ อยู่ในตลาดที่กำลังขยายตัว

สุดท้ายทางที่ดีที่สุดควรกระจายความเสี่ยง เลือกลงทุนหุ้นในหลายๆ กลุ่มธุรกิจนะครับ

2 สิ่งที่ไม่ใช่สำหรับ DCA

  • DCA ไม่ได้ลดความเสี่ยงทั้งหมด แต่จะช่วยลดความเสี่ยงด้านเวลา(Market Timing)หรือจังหวะการลงทุน และที่สำคัญคือ มันอาจช่วยแค่ในช่วงแรกของการลงทุนเท่านั้น เพราะยิ่งจำนวนครั้งในการลงทุนเพิ่มขึ้น เงินลงทุนก็เพิ่มตาม ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนในแต่ละครั้งที่ซื้อก็จะลดลงตาม
  • DCA ไม่ได้เหมาะกับสินทรัพย์ทุกชนิด เช่น กองทุนน้ำมัน

6 สิ่งที่ควรทำ สำหรับผู้ลงทุนแบบ DCA

  1. เลือกหุ้นพื้นฐานดีและมีการเติบโต
  2. รักษาวินัยออมหุ้นอย่างสม่ำเสมอ
  3. ให้เวลาเป็นเพื่อนช่วยสะสมความมั่งคั่ง
  4. ติดตามผลประกอบการของหุ้นที่ลงทุน
  5. อย่าลืมลงทุนให้เหมาะสมตามความเสี่ยงและช่วงอายุ
  6. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม

สุดท้าย DCA เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่เหมาะกับมือใหม่และมนุษย์เงินเดือนที่ไม่ค่อยมีเวลา โดยส่วนตัวมองว่า ผลตอบแทนส่วนใหญ่ในระยะยาวจะอยู่ระดับดีปานกลางเพราะเป็นการซื้อเฉลี่ยเท่าๆกัน โดยไม่สนใจสภาวะตลาดมาก แต่อย่างน้อยมันจะช่วยสร้างวินัยการออมเงินที่ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งดี . . . ยิ่งออมยาว ยิ่งได้เปรียบ

Now or Later ?

แล้ว คุณละ…เลือก “จะเริ่ม ”หรือ จะรอ ?

--

--

Pakpoom Poom
Pakpoom Poom

Written by Pakpoom Poom

My journey | Lifelong Learning : Learn – Unlearn – Relearn

No responses yet