เปิดความจริง ความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย | “ รวยกระจุก จนกระจาย ”

Pakpoom Poom
2 min readJan 14, 2020

--

ขณะนี้สังคมไทยกำลังมีความตื่นตัวเรื่องความเหลื่อมล้ำกันมาก จนปัญหานี้ถูกมองว่าเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศติดขัด จนเกิดเสียงสะท้อนเป็นคำพูดที่ว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” จากช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ทั้งๆ ที่ ถ้าเรามองย้อนกลับไปในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเรากลับมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัว เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 4.3 ต่อปี

ธนาคารแห่งประเทศไทย

จึงส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยลดลงใน 5 ปีที่ผ่านมา จากร้อยละ 46 ในปี 1991 เหลือร้อยละ 38 ในปี 2015 สอดคล้องกับสัดส่วนครัวเรือนยากจนที่ลดลง จากร้อยละ 61 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในปี 1988 เหลือร้อยละ 18 ในปี 2007 และเหลือร้อยละ 2 ในปี 2015 (Cr.ข้อมูลจากส้านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

ธนาคารแห่งประเทศไทย

แม้ภาพรวมความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยจะปรับลดลง แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ จากรายงานของ World Economic Forum (2018) ชี้ว่าระดับ ความไม่เสมอภาคของไทยสูงเป็นอันดับที่ 25 จาก 107 ประเทศทั่วโลก สูงกว่า เวียดนาม(อันดับที่ 29) สิงคโปร์(อันดับที่ 36) อาร์เจนติน่า(อันดับที่ 45) และญี่ปุ่น (อันดับที่ 87)

ธนาคารแห่งประเทศไทย

อีกทั้งไทยยังมีความแตกต่างในช่องว่างของกลุ่มรายได้ โดยเฉลี่ยระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 และรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 ต่างกันถึง 10.3 เท่าในปี 2015 และรวมถึงคนกลุ่มรายได้สูงสุดยังมีรายได้รวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากร ทั้งหมดของประเทศอีกด้วย

โดยหากพิจารณากลุ่มคนรายได้น้อย จะพบว่ากว่า 50% ของประเทศ ทำอาชีพภาคเกษตร แล้วได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลทางเกษตรที่ลดลงตามราคาตลาดโลก และความผันผวนของอากาศ ทั้งหมดจึงัส่งผลต่อรายได้ที่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นในอนาคต

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่วนความเหลื่อมล้ำในด้านอื่นๆ ยังคงอยู่ในระดับสูง แล้วยังมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคตเช่นกัน จะสะท้อนจากข้อมูลในรายงาน The Inclusive Development Index 2018 ของ World Economic Forum ที่บอกถึงความเหลื่อมล้้าด้านความมั่งคั่ง ของไทยติดเป็นลำดับที่ 10 จากทั้งหมด 107 ประเทศทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2013–2018) และความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาส จากข้อมูลส้านักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของครัวเรือนไทยใน ปี 2017 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 24.8 และ 64.4 ตามลำดับ รวมถึงความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาในเชิงพื้นที่ ที่ดูจากระดับคะแนน PISA พบว่าคะแนนของนักเรียนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ อย่างมีนัยส้าคัญในทุกสาขาวิชา ซึ่งความเหลื่อมล้้าด้านโอกาส เป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้้าด้านรายได้ และอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามมาอย่างรวดเร็ว รวมถึงผลกระทบ ปัญหาต่างๆ เพราะส่วนตัวเชื่อว่าโอกาสทางการศึกษาควรจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมและประเทศ

เพราะถ้าปัญหาความยากจน อาชญากรรม ยังเกิดจากการที่คนไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถในการทำกิน ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งปัญหาสังคมเหล่านี้ เราล้วนเรามุ่งหวังจะแก้ไข เพื่อจะนำไปสู่การทำคนในสังคมมีความรู้ รายได้ที่ดี เข้าถึงโอกาส สามารถพึ่งพาพัฒนาตนเองได้

ตามคำพูดที่ว่า “ ถ้าเราอยากเห็นสังคมเป็นอย่างไร ให้สร้างคน/สังคมแบบนั้นขึ้นมา ”

Pixabay

แหล่งอ้างอิง

--

--

Pakpoom Poom
Pakpoom Poom

Written by Pakpoom Poom

My journey | Lifelong Learning : Learn – Unlearn – Relearn

No responses yet