RPA 101 | มาทำความรู้จักและร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับ UiPath หนึ่งใน RPA ที่ดีที่สุดในโลก

Pakpoom Poom
5 min readMar 20, 2021

--

เนื่องด้วยปัจจุบันการนำเทคโนโลยีออโตเมชั่น (Automation) เข้ามาใช้ในองค์กรได้กลายเป็นแนวทางที่องค์กรต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะช่วยพลิกโฉมรูปแบบการทำงานเดิมๆ สู่รูปแบบการทำงานแบบใหม่ ด้วยแรงงานดิจิทัล (Digital Workforce) ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมและหลากหลายแผนก ซึ่งถึงแม้จะเป็นการทำงานง่ายๆ ซ้ำๆ ได้โดยอัตโนมัติ แต่ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน, ลดความผิดพลาด และทำให้พนักงานมีเวลาสร้างสรรค์ผลงานด้านอื่นได้มากขึ้น ดังนั้น การเลือกโซลูชั่นซอฟต์แวร์แบบอัติโนมัติ “ที่ใช่” จึงเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญอย่างมาก

www.uipath.com

UiPath คืออะไร

UiPath คือหนึ่งในผู้พัฒนาโซลูชันซอฟแวร์เทคโนโลยีประเภท RPA (Robotic Process Automation) และเป็น RPA Platform ที่ทุกองค์กรทั่วโลกต่างยอมรับและเลือกใช้มากที่สุดในหลายปีที่ผ่านมา (อ้างอิงจาก: Gartner )

Uipath Platform in action

โครงสร้างการทำงาน(Uipath Platform in action) จะประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

  1. Uipath Studio จะทำหน้าที่ออกแบบ และพัฒนาคำสั่งตามที่เราต้องการ
  2. Uipath Orchestrator จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน
  3. Uipath Robots จะทำหน้าที่ทำงานตามคำสั่งที่ได้รับและถูกกำหนดมา

สำหรับเวอร์ชั่นของ Uipath จะมีทั้งในประเภทของ Community (free) และ Enterprise (Price) ซึ่งบทความในวันนี้ เราจะมาแชร์ในส่วนของ Community ที่เป็น Uipath Studio กันนะครับ

https://www.tangentia.com/wp-content/themes/twentysixteen/images/automation/uipath-banner.png

UiPath Studio

คือส่วนที่จะใช้พัฒนาและสร้างคำสั่ง เพื่อสร้าง Bot ซึ่งเบื้องต้นสำหรับมือใหม่(Citizen Developer) เราขอแนะนำให้เริ่มจาก “StudioX”

UiPath Studio Type

ขั้นตอนการติดตั้ง UiPath

  1. เข้าไปที่ URL https://uipath.com จากนั้นคลิก Try UiPath Free เพื่อลงทะเบียน

2.กด Download เพื่อติดตั้งโปรแกรม

3. เปิดโปรแกรมขั้นมา เพื่อเลือก Profile ตามที่เราต้องการ ผ่านการคลิก Home > Settings > License and Profile > View or Change

มาถึงตรงนี้ ทุกคนคงอยากทดลองสร้างบอทตัวแรกกันแล้วใช่ไหมครับ ?

ถ้าพร้อมแล้ว เราไปเริ่มกันเลย !!!

How to Build Your First Bot in “UiPath”

โจทย์ที่ใช้กันในวันนี้คือ การเปรียบเทียบข้อมูลและนำส่งผลการกระทบยอดข้อมูลที่ผิดพลาดผ่านทางอีเมล(Comparing Excel Files and Emailing Reconciliation Errors)

Download Material https://documentationexamplerepo.blob.core.windows.net/examples/StudioX_v2020.10/ReconcileExcelFilesEmailErrors.zip

เริ่มต้นให้เปิดโปรแกรม UiPath Studio ขึ้นมา แล้วให้คลิก Start(แถบด้านซ้าย) > กด Blank Task(ภายใต้กล่อง New Project) จากนั้นให้ตั้งชื่อ Bot แล้วกด Create

Start > Blank Task
Bot Name > Create

ก่อนที่จะเริ่มต้นสร้างกัน ผมขออธิบายเครื่องมือการทำงานที่เราใช้กันในวันนี้แบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ

  • เครื่องมือคำสั่งต่างๆ ที่จะใช้สำหรับสร้าง Bot
Use Excel File
Read CSV
Write Cell
Copy Range
If
Use Desktop Outlook App
Send Email

เมนูคำสั่งที่เราจะเลือกใช้ก็จะประมาณนี้ จากนั้นเรามาเริ่มลอง สร้าง Bot จริงๆกันเลยครับ

Step 1: Add the Excel files to the project

ใช้คำสั่ง Use Excel file [ Excel file > Browse > invoices.xlsx, Reference as > Invoices // Excel file > Browse > reconcile.xlsx , Reference as > Rec ]

Step 2: Copy the data to the reconciliation file

ใช้คำสั่ง Read CSV [ Read from file > summary.csv. // Plus(+) > Rec > Summary [Sheet] ]

ใช้คำสั่ง Copy Range [ Source rang > Plus(+) > Invoices > Invoices [Sheet] // Destination range > Plus(+) > Rec > Invoices [Sheet] ]

Step 3: Make the necessary calculations to compare the data

ใช้คำสั่ง Write Cell [What to write > Plus(+) > Text > Calculated Amount // Where to write > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > C1 > Confirm >[Rec] Summary!C1 ]

ใช้คำสั่ง Write Cell [What to write > Plus(+) > Text > =IF(A2 <> “”, SUMIF(Invoices!B:B, A2, Invoices!C:C), “”) // Where to write > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > C2 > Confirm >[Rec] Summary!C2 ]

ใช้คำสั่ง Write Cell [What to write > Plus(+) > Text > Difference // Where to write > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > D1 > Confirm >[Rec] Summary!D1 ]

ใช้คำสั่ง Write Cell [What to write > Plus(+) > Text > =IF(A2 <> “”, C2-B2, “”) // Where to write > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > D2 > Confirm >[Rec] Summary!D2 ]

ใช้คำสั่ง Copy Range [ Source rang > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > C2:D2 > Confirm > [Rec] Summary!C2:D2 // Destination range > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > C3-D20 > Confirm > [Rec] Summary!C3-D20 ]

ใช้คำสั่ง Write Cell [What to write > Plus(+) > Text >=SUM(Summary!D:D) // Where to write > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > F1 > Confirm >[Rec] Summary!F1 ]

Step 4: Send an email with details about the reconciliation if the sum of differences is greater than 0

ใช้คำสั่ง If [ Condition > Plus(+) > Rec > Indicate in Excel > Invoices > F1 > [Rec] Invoices!F1 > drop-down menu > greater than > Number > Plus(+) > 0 ]

ใช้คำสั่ง Write CSV [ Write to what file > Plus(+) > Text > reconcile > Plus(+) > Project Notebook (Notes) > Date [Sheet] > YYYYMMDD [Cell] > reconcile Excel Date!YYYYMMDD > .csv > SAVE > reconcile Excel Date!YYYYMMDD.csv // Write from > Plus(+) > Rec > Summary [Sheet] > [Rec] Summary. ]

ใช้คำสั่ง Use Desktop Outlook App

ใช้คำสั่ง Send Email [ Subject > Plus(+) > Text > Reconciliation errors for > Plus(+) > Project Notebook (Notes) > Date [Sheet] > Today [Cell] > Reconciliation errors for Date!Today // Files > reconcile Excel Date!YYYYMMDD.csv ]

เพียงเท่านี้คำสั่งที่เราเขียนไว้ก็พร้อมกดสั่งทำงานแล้ว โดยผลลัพธ์ที่จะถูกแจ้งผ่านทางอีเมลแบบนี้

ไฟล์ที่ได้รับทางอีเมล คือ ไฟล์ Reconcile ตามกรอบสีแดง

เพียงเท่านี้เราก็สามารถสร้าง “น้องบอทตัวแรก” กันได้แล้ว อย่างไรอย่าลืมไปลองเล่นกันนะครับทุกคน : )

Hope everyone have got some basic understanding on how to use the UiPath automation process.

สำหรับใครที่พลาดบทความก่อนหน้า สามารถอ่านได้ที่นี้

1.RPA 101 | What is Robotic Process Automation? [เข้าใจง่ายใน 5 นาที]

2.RPA 101 | How to Build Your First Bot in “Automation Anywhere” (เรื่องง่ายๆที่ใครก็ทำได้)

3.RPA 101 | What is Robotic Process Automation? [เข้าใจง่ายใน 5 นาที]

ส่วนใครที่สนใจเรียนรู้ uipath สามารถเข้าไปเรียน(ฟรี)กันได้ที่ https://www.uipath.com/rpa/academy

ขอบคุณข้อมูล

1.www.uipath.com

--

--

Pakpoom Poom
Pakpoom Poom

Written by Pakpoom Poom

My journey | Lifelong Learning : Learn – Unlearn – Relearn

Responses (1)